ทำความเข้าใจนักจิตวิทยาการศึกษา Skinner

Burrhus Skinne

‘Burrhus Skinner’ เป็นนักจิตวิทยาการศึกษา ผู้มีชื่อเสียง เขา คือ ผู้คิดค้นทฤษฎีวางเงื่อนไขแบบกระทำ หรือ Operant Conditioning theory เขามีแนวความคิดว่าทฤษฎี วางเงื่อนไขแบบ Classic นั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เขาจะเป็นผู้ปฏิบัติเอง ไม่ได้เกิดจากการผสมผสานระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า

การเสริมแรง

คือ การที่สิ่งเร้าใดส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้น แล้วในอนาคตมันก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอีก ซึ่งมีความคงทนอย่างถาวร เช่น การกดคานของนกพิราบ,หนู ซึ่งสามารถทำได้อย่างถูกต้อง ทุกครั้งเมื่อมันหิว สำหรับการทดลองของ Skinner ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ข้อ ได้แก่…

  • ตัวเสริมแรงทางบวก คือ สิ่งเร้าที่นำมาใช้แล้ว ส่งผลให้อัตราตอบสนองมากขึ้น เช่น การกอด , ของรางวัล , อาหาร เป็นต้น
  • ตัวเสริมแรงทางลบ คือ สิ่งเร้า

ทฤษฎีเงื่อนไขด้วยกระทำ

Operant Conditioning Theory ถือกำเนิดขึ้นจากความคิดของ Skinner ในช่วงปีปี 1950 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติขาดแคลน ‘ครู’ ที่มีประสิทธิภาพ อันส่งผลต่อพัฒนาเด็กที่มีคุณภาพ เขาจึงได้คิดค้นเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมา เพื่อช่วยปรับปรุงให้ระบบศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมผลิตเด็กที่มีความรู้ พร้อมพัฒนาประเทศชาติต่อไป เครื่องมือที่เขาคิดขึ้นมา เรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม และเครื่องมือช่วยสอน จนกระทั่งมันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

ทฤษฎีของ Skinner เรื่องทฤษฏีวางเงื่อนไขแบบกระทำ

มาจากแนวความคิดเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดพฤติกรรม รวมทั้งผลของการกระทำ สำหรับทฤษฏีนี้เน้นขั้นตอนกระทำของผู้เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนเป็นคนกำหนดขึ้น

ขั้นตอนทดลองของ ‘Burrhus Skinner’

  • ขั้น 1 เตรียมทดลอง ปล่อยให้หนูหิวมากๆ เพื่อสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น โดยปัจจัยนี้จะกลายมาเป็นแนวทางซึ่งช่วยผลักดัน ให้สามารถแสดงพฤติกรรมเรียนรู้ได้เร็วขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็จำเป็นต้องให้หนูเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับกล่องของ Skinner ด้วย อาจต้องใช้เวลาหลายครั้ง
  • ขั้น 2 ทดลอง เมื่อปล่อยให้หนูเกิดความรู้สึกหิวมากๆ Skinner ก็ปล่อยหนูเข้าไปในกล่องทดลองที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษหนูก็จะวิ่งอย่างสับสน และจะแสดงอาการต่างๆออกมา เช่น วิ่งไปรอบๆกล่อง พร้อมกัดแทะสิ่งต่างๆที่อยู่ในกล่องด้วยความหิว โดยหนูอาจจะไปบังเอิญเหยียบลงบนคานแล้วอาหารที่ซ่อนไว้ก็จะปรากฏออกมา หนูก็จะได้อาหารจนอิ่ม

ขั้น 3 ขั้นทดสอบเรียนรู้ ขั้นตอนนี้จับหนูเข้าไปในกล่องทดลองอีก แต่คราวนี้หนูจะเลิกวิ่งมั่วหากแต่ใช้เท้าหน้ากดทันที ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หนูเรียนรู้แล้วว่า กดตรงจุดไหนจะทำให้มันได้กินอาหาร สรุปแล้ว การเรียนรู้ที่ดีจำเป็นต้องมีการเสริมแรงนั่นเอง จากการทดลองนี้ก็สามารถนำมาปรับใช้กับมนุษย์ได้